“ข้าวยำปักษ์ใต้” หรือ
 “ข้าวยำน้ำบูดู” เมนูเด็ดที่ว่านี้
มาพร้อมกับคุณค่าทางโภชนาการ
อย่างครบถ้วน รสชาติที่มีเอกลักษณ์
และส่วนผสมที่หลากหลายด้วยสมุนไพรต่าง ๆ
 มาถึงภาคใต้แล้วห้ามพลาดลิ้มลอง
ต้นตำรับอาหารปักษ์ใต้

 

 
 

ที่มา : ฐิติมา สิงห์แก้ว. 2557,59

   
 

    สำหรับการทำน้ำบูดูนั้น  เริ่มจากนำปลาทะเลสด ๆ  ซึ่งสามารถใช้ปลา
ชนิดใดก็ได้  (แต่น้ำบูดูขึ้นชื่อในอำเภอสายบุรี  จังหวัดปัตตานีมักใช้ปลากะตัก 
เนื่องจากเชื่อว่าจะได้น้ำบูดูที่มีกลิ่นและรสชิดี)  จากนั้นก็นำปลามาล้างให้สะอาด 
แล้วนำไปใส่กระบะไม้ขนาดประมาณ  0.๕ x 2 เมตร  และเติมเกลือสมุทร
ประเภทหยาบลงไปในอัตราส่วนปลากะตักต่อเกลือเป็น  ๓ : ๑  โดยน้ำหนัก
แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยไม้พาย  เมื่อคลุกปลากับเกลือเข้ากันได้ที่ดีแล้ว
ก็จะนำไปใส่ในโอ่งดินหรือบ่อซิเมนต์  ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า  “บ่อบูดู”
 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  ๑  เมตร  สูง  ๑  เมตร  แล้วใช้
กระสอบหรือผ้าคลุมปิดไว้  จากนั้นก็คอยให้ปลายุบตัวลง  แล้วจึงเติมปลา
และเกลือที่คลุกแล้วลงไปอีกจนเกือบเต็ม  โดยจะเว้นพื้นที่บางส่วน
ของบ่อบูดูไว้เผื่อก๊าซที่เกิดจากการหมักดันฝาบ่อ

 

 
                   
      
 
 

   เมื่อปลาในบ่อบูดูอัดแน่นได้ที่ดีแล้วจะทำการปิดบ่อบูดูให้มิดชิด
ด้วยกระสอบเกลือและใช้ไม้ไผ่สาน  หรือกระเบื้องหลังคาปิดทับ
 และอาจใช้วัตถุหนัก ๆ  ปิดทับไว้อีกที  ทิ้งระยะเวลาการหมักประมาณ
 ๘ – ๑๒  เดือนอย่างที่ได้กล่าวข้างต้น  โดยในช่วงนี้จะไม่เปิดบ่อบูดูเลย 
และต้องไม่ให้น้ำฝนเข้าไปในบ่อบูดูได้  เพราะจะทำให้น้ำบูดูมีสีดำ
 และมีกลิ่นเหม็น  เมื่อครบกำหนดเวลาก็จะเปิดบ่อบูดู  ซึ่งจะมีน้ำบูดู
และเนื้อบูดูปะปนกันอยู่โดยบูดูที่มีน้ำบูดูเป็นส่วนใหญ่จะเรียกว่า
 “บูดูใส”  ส่วนบูดูที่มีเนื้อบูดูปะปนอยู่มากจะถูกนำไปผลิตเป็น 
“บูดูข้น”  คราวนี้ใครชอบรับประทานแบบใสหรือแบบเข้มข้น
ก็สามารถเลือกรับประทานได้ตามใจชอบ  ปัจจุบันมีการแปรรูป
น้ำบูดูบรรจุขวดจำหน่ายหลายยี่ห้อ  ซึ่งสามารถซื้อหามาทำเอง
ที่บ้านได้อย่างง่าย ๆ

 
 
 

ที่มา : ฐิติมา สิงห์แก้ว. 2557,59

 
Home               Main                              Next